วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2552

ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมในการสมัครงาน

1. การค้นหาทักษะ (Skills) เป็นความสามารถที่ต้องมีและเป็นรากฐานในการทำงานทุกชนิด ไม่มีงานชนิดไหนที่ไม่ต้องใช้ทักษะ โดยทักษะ จะแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ
1.1. ทักษะที่เกิดจากการเรียนรู้ เช่น ทักษะในการขับรถ พูดภาษาต่างประเทศ
1.2. ทักษะที่ติดตัวเรามาและสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ เช่น การวาดรูป ร้องเพลง
1.3. ทักษะที่ได้จากสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน เช่น ทักษะการเข้ากลุ่มเพื่อน ทักษะการเป็นผู้นำ ซึ่งในงานแต่ละชนิดเมื่อจำแนกหน้าที่ของงานออกแล้วจะต้องประกอบด้วย กิจกรรมหลายอย่าง ซึ่งแต่ละกิจกรรมก็จะประกอบไปด้วยทักษะมากมาย เช่น อาชีพครู มีกิจกรรมทางด้านการสอน บริหาร ค้นคว้า ทักษะมีทั้งการพูด การออกคำสั่ง การฟัง การแสดงออก และการเขียน เป็นต้น

2. การสำรวจจุดเด่นของตนเอง
จุดเด่นของคุณมีผลต่อการหางานมากพอๆ กับทักษะ จุดเด่นนี้เป็นลักษณะทางบุคลิกภาพที่ทุกคนมี งานทุกชนิดต้องการคนที่มีบุคลิกบางอย่างที่เด่น เป็นเฉพาะ เช่น งานประชาสัมพันธ์ คุณควรมีบุคลิกภาพที่เขากับคนง่าย รู้จักจัดการเกี่ยวกับคน หรือพนักงานบัญชี คุณก็ควรมีบุคลิกภาพที่ละเอียดรอบคอบ เป็นต้น

3. สำรวจความสัมฤทธิ์ผลทั่วไป
ความสัมฤทธิ์ผลนี้คือ เป็นความรู้สึกประทับใจความสำเร็จไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด ๆ ก็ตาม โดยให้นึกถึงสิ่งที่คุณทำแล้วสำเร็จ และประทับใจเหล่านั้นมาสัก 4 - 5 เรื่อง และเหตุการณ์เหล่านั้นเป็นผลสัมฤทธิ์ของคุณ และนำมาเขียนเป็นผลสรุปของคุณเก็บไว้เป็นข้อมูลไว้เป็นองค์ประกอบในการสมัครงานด้านหนึ่ง

4. สำรวจความชอบ / ไม่ชอบ
เป็นขั้นตอนของการลองกลับไปคิดทบทวนใหม่อีกครั้งถึงประสบการณ์สมัยอยู่โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย หรือช่วงชีวิตที่ผ่านมามีอะไรที่เกิดขึ้นใน ช่วงเหล่านั้นที่คุณชอบและไม่ชอบใจบ้างไหม เช่น คุณอาจจะจำครูที่ดุอย่างขาดเหตุผล คุณแม่ที่เคร่งครัดและเจ้าระเบียบ เพื่อนที่เจ้าอารมณ์ ขอให้จำบุคลิก ลักษณะของบุคคลที่คุณไม่ชอบนี้ไว้ด้วย คุณจะได้รู้ว่าบุคคลประเภทใดที่คุณอยู่ด้วยแล้วไม่มีความสุข

5. สำรวจขีดจำกัด
คนเราทุกคนไม่มีความสมบูรณ์ดีพร้อมไปเสียทุกอย่าง ทุกคนต้องมีข้อบกพร่อง ซึ่งมันอาจเป็นจุดอ่อนที่ยังแฝงอยู่ในบุคลิกภาพของคุณในปัจจุบัน จุดอ่อนที่จะเป็นตัวขัดขวางทำให้คุณไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร โดยคุณจะต้องพยายามทำความรู้จักกับทุกส่วนของบุคลิกคุณอย่างแท้จริง และนำมาเป็นจุดแก้ไข ปรับปรุง หรือเป็นข้อควรระวัง เพื่อคุณจะไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จได้ เช่น คุณอาจเป็นคนที่มีความคิดอ่านที่ดีสมัยอยู่โรงเรียนมัธยม แต่คุณมักไม่กล้าแสดงตัวหรือแสดงความคิดเห็นให้ปรากฏ ทำให้คนอื่นรับหน้าที่แทนคุณไป แสดงว่าคุณมีจุดอ่อน คือ ขาดความกล้า หรือไม่มีลักษณะเป็นผู้นำ คุณก็นำข้อนี้ไปปรับปรุงและพัฒนา หรือถ้าไม่ไหวจะเป็นผู้นำก็ต้องหางานในตำแหน่งที่ไม่ต้องแสดงความเป็นผู้นำดังกล่าว

6. สำรวจค่านิยม
ค่านิยม คือสิ่งที่เรายึดถือว่า ดี งาม สมควรปฏิบัติ เช่น ค่านิยมเรื่องความซื่อสัตย์ ความมั่นคง ความปลอดภัย ความเสียสละ ซึ่งถ้าคุณคิดเพียงแต่ว่าขอให้ได้งาน โดยไม่ตระหนักถึงค่านิยมของตัวเองและธรรมชาติของงาน การทำงานนั้นก็จะไม่ได้รับความสุขกับการทำงาน และทำให้ต้องเข้า ๆ ออก ๆ หางานใหม่อยู่ตลอดเวลา ดังนั้น การรู้จักค่านิยมของตัวเองจึงเป็นหัวใจสำคัญอีกด้านหนึ่งในการทำงานเพื่อความสุขของชีวิต

7. สำรวจความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลอื่น
การทำงานทุกชนิดต้องสัมพันธ์กับคน จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละตำแหน่งงาน ดังนั้นสิ่งที่คุณต้องเข้าใจคือ เราต้องอยู่กับคนไปตลอดชีวิต การเข้าใจความสัมพันธ์ที่มีต่อกันจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการอยู่ร่วมกัน และทำงานด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ

8. สำรวจสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่นี้ก็คือ สถานที่ตั้งของหน่วยงาน เช่น ใกล้ - ไกล การคมนาคม ต่างจังหวัด หรือกรุงเทพฯ สภาพมลภาวะต่างๆ ลักษณะงาน ซึ่งคุณจะต้องมีความยืดหยุ่นพอที่จะปรับความต้องการให้เข้ากับสิ่งที่คุณได้ตามสมควร

9. ความต้องการเกี่ยวกับเงินเดือน
ไม่ว่าตัวผู้สมัครงานจะมีประสบการณ์หรือไม่มีประสบการณ์ก็ตาม การเรียกร้องเงินเดือนเท่าใดนั้น คุณควรจะต้องไปทำการค้นคว้าว่าโดยทั่ว ๆ ไป บุคคลที่จบการศึกษาระดับเดียวกันกับคุณหรือผู้ที่ทางบริษัทรับเข้ามาในตำแหน่งที่คล้ายกับที่คุณสมัครนั้นเขาได้รับเงินเดือนประมาณเท่าใด ซึ่งส่วนใหญ่ ถ้าเป็นงานราชการเงินเดือนจะต้องเป็นไปตามวุฒิที่ทางการกำหนด ไม่มีการต่อรอง แต่ถ้าเป็นบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจอาจมีอัตราการจ่ายเงินที่ต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับขนาด ความมั่นคงของบริษัท และระบบการบริหารของบริษัท

ข้อควรปฏิบัติในการฝึกงาน

1.เวลาในการทำงานควรมาก่อนและกลับทีหลัง มีสัมมาคารวะ การพูดจาควรมีหางเสียง
2.ในการทำงาน เราควรปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ให้ได้ ทำงานให้ทันตามกำหนด
3.การขาดงานหรือการลาไม่ควรเกิน 3-5 วัน และต้องมีใบลาให้กับพี่เลี้ยงหรือโทรศัพท์แจ้งหน่วยงานหรือพี่เลี้ยง
4.กรณีที่ขาดหรือลามากกว่านั้น เนื่องจากมีเหตุจำเป็น ตัวอย่างเช่น เป็นนักกีฬา จะต้องมีใบแจ้ง แล้วหาเวลาไปฝึกเพิ่มเติม
5.ระยะเวลาการฝึกงาน บางหน่วยงานอาจมีวันทำงานไม่เหมือนกัน ตัวอย่างเช่น บางหน่วยงานให้ฝึกงานวันจันทร์ถึงวันศุกร์ และบางหน่วยงานให้ฝึกวันจันทร์ถึงวันเสาร์ การฝึกงานจะเริ่มต้นและสิ้นสุดตามกำหนดวันฝึกงานเท่านั้น ตัวอย่างเช่น โปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์เริ่มฝึกงานตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม จนถึงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ก็ต้องมาฝึกจนครบตามกำหนดระยะเวลา

ประวัติ

ชื่อ ไพศาล มั่นโสภณ ชื่ออเล่น บอย
อายุ 27 ปี วันที่เกิด 26 สิงหาคม พ.ศ.2524
สถานภาพ โสด ผ่านการเกณฑ์ทหารแล้ว
อาศัยอยุ่ที่ 93/95 หมู่ 2 แขวงทุ่งครุ เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140
โทร. 083-973-0505
สถานศึกษาในอดีต
ประถม โรงเรียนสัจจะพิทยา
มัธยม โรงเรียนนิพัทธ์วิทยา
ปวช. โรงเรียนสารสาสน์บริหารธรุกิจกนกอนุสรณ์
ปวส. โรงเรียนสารสาสน์บริหารธรุกิจกนกอนุสรณ์
ปัจจุบันศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
สถานที่ทำงาน บริษัทเพรสซิเดนท์ ดิจิตอล มีเดีย จำกัด
145 ซอยโชคชัยจงจำเริญ ถนนพระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120
โทร. 02-683-0671-4
อาหารที่ชอบ หน้าจะเป็นก๋วยเตี๋ยว
สีที่ชอบ สีแดง

การทำจดหมายเวียน








หลักสูตรปริญญาตรี2ปีต่อเนื่อง

โปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา)
ชื่อหลักสูตร หลักสูตรโปรแกรมวิชาการบริหารธุรกิจ
แขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
Bachelor of Business Administration Program in Business Computer
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็ม : ปริญญาการบริหารธุรกิจบัณฑิต (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
Bachelor of Business Administration (Business Computer)
ชื่อย่อ : บธ.บ. (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ)
B.B.A. (Business Computer)
จุดประสงค์เฉพาะ
1. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารธุรกิจระดับวิชาชีพ (Professional)ในวิชาบริหารธุรกิจเฉพาะทาง ในวิชาการด้าน ต่าง ๆ ที่สามารถนำไปประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบเศรษฐกิจและสังคม สามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจ ดำเนินธุรกิจได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
3. เพื่อผลิตบุคลากรที่สามารถติดตามและปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงความก้าวหน้าในเทคโนโลยีฯ และการบริหารธุรกิจในงานอาชีพ
4. เพื่อผลิตบุคลากรที่มีเจตคติและค่านิยมในการประกอบอาชีพอิสระอย่างมีคุณภาพ จริยธรรม และปัญญาธรรม
คุณสมบัติเฉพาะโปรแกรมวิชา
โครงสร้างหลักสูตร
มีหน่วยกิตการเรียนตลอดหลักสูตรในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจไม่น้อยกว่า 73 หน่วยกิต และมีสัดส่วนหน่วยกิต แต่ละหมวดวิชาและแต่ละกลุ่มวิชา ดังนี้
1. หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป 18 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะด้าน 49 หน่วยกิต
3. หมวดเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
รายวิชาในหมวดวิชาเฉพาะ
1. กลุ่มวิชาเนื้อหา 35 หน่วยกิต
1.1บังคับ เรียน 24 หน่วยกิต
ที่ รหัสวิชา รายชื่อวิชา หน่วยกิต
1 1551606 ภาษาอังกฤษธุรกิจ 2 3(3-0)
2 3503901 การวิจัยทางธุรกิจ 3(2-2)
3 3504101 จริธรรมทางธุรกิจ 3(3-0)
4 3564201 การจัดการเชิงกลยุทธ์ 3(3-0)
5 3593301 การวิเคราะห์เชิงปริมาณ 3(3-0)
6 3503201 การจัดระบบเครือข่ายและการสื่อสารข้อมูลธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
7 4122502 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 1 3(2-2)
8 4121202 การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ 1 3(2-2)
1.2 เลือกเรียน ให้เลือกเรียนรายวิชาต่อไปนี้ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
ที่ รหัสวิชา รายชื่อวิชา หน่วยกิต
1 3503202 การจัดการงานเลขานุการและธุรการด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
2 3503203 การประมวลผลการวิจัยทางธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
3 3504201 การจัดการของคงคลังด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
4 3504202 การวางระบบบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
5 3562104 การจัดการธุรกิจด้วยคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
6 35694908 การสัมมนาคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
7 4091606 คณิตศาสตร์สำหรับคอมพิวเตอร์ 3(3-0)
8 4121103 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์และอัลกอริทึ่ม 3(2-2)
9 4121202 การเขียนโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ 1 3(2-2)
10 4121301 โปรแกรมภาษาเบสิก 3(2-2)
11 4121302 โปรแกรมภาษาโคบอล 1 3(2-2)
12 4122201 ฐานข้อมูลเบื้องต้น 3(2-2)
13 4122202 โครงสร้างข้อมูล 3(2-2)
14 4122203 การประมวลผลแฟ้มข้อมูล 3(2-2)
15 4122401 ภาษาคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
16 4122602 โปรแกรมประยุกต์ด้านการจัดการสำนักงานอัตโนมัติ 3(2-2)
17 4122603 คอมพิวเตอร์กราฟิก 3(2-2)
18 4122606 โปรแกรมประยุกต์ด้านระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร 3(2-2)
19 4122701 ระบบคอมพิวเตอร์และสถาปัตยกรรม 3(2-2)
20 4123601 โปรแกรมประยุกต์ด้านสถิติและวิจัย 1 3(2-2)
21 4123603 โปรแกรมประยุกต์ด้านการเงินและการบัญชี 3(2-2)
22 4123604 โปรแกรมประยุกต์ด้านการควบคุมสินค้า 3(2-2)
23 4123605 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานทะเบียนบุคคลและการจ่ายเงินเดือน 3(2-2)
24 4123607 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ 3(2-2)
25 4123611 การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านการธนาคาร 3(2-2)
26 4123612 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 3(2-2)
27 4123613 คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ 3(2-2)
28 4123615 โปรแกรมประยุกต์ด้านงานธุรการ 3(2-2)
29 4123619 การประยุกต์ใช้มัลติมีเดีย 3(2-2)
30 4123702 ระบบการสื่อสารข้อมูล 3(2-2)
31 4123903 หัวข้อพิเศษเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 3(2-2)
32 4124501 ปัญญาประดิษฐ์ 3(2-2)
ข้อกำหนดเฉพาะ
1) ในกรณีเคยเรียนรายวิชาบังคับในระดับอนุปริญญาตามหลักสูตรของสถาบันราชภัฏแล้วให้เลือกเรียนรายวิชาเลือกในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ตาม 12 แทน
2) ผู้ที่ไม่เคยเรียนรายวิชาต่อไปนี้
ที่ รหัสวิชา รายชื่อวิชา
1 3592101 เศรษฐศาสตร์จุลภาค 1
2 3592102 เศรษฐศาสตร์มหภาค 1
3 3521101 การบัญชี 1
4 3521102 การบัญชี 2
5 4112105 สถิติธุรกิจ
6 3531101 การเงินธุรกิจ
7 3541101 หลักการตลาด
ให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวม ในเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
3) สำหรับผู้ที่เคยสอบได้รายวิชาที่มีเนื้อหาเทียบเท่าหรือเคยสอบได้รายวิชาที่สูงกว่ารายวิชาที่กำหนดไว้ใน ข้อ 2) มาแล้วในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าให้ยกเว้นไม่ต้องเรียน
2.กลุ่มวิชาวิทยาการจัดการ
บังคับ เรียน 9 หน่วยกิต
ที่ รหัสวิชา รายชื่อวิชา หน่วยกิต
1 3524301 การบัญชีเพื่อการจัดการ 3(3-0)
2 3543101 การบริหารการตลาด 3(3-0)
3 3562307 การบริหารการผลิต 3(3-0)
ข้อกำหนดเฉพาะ
1) ผู้ที่เรียนแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจในระดับปริญญาตรี(หลังอนุปริญญา)ต้องผ่านการศึกษารายวิชาคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
2) ผู้ที่ไม่เคยเรียนรายวิชา 3561101องค์การและการจัดการ และ 3532202 การภาษีอากรธุรกิจ ให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
3)สำหรับผู้ที่เคยสอบได้รายวิชาที่มีเนื้อหาเทียบเท่าหรือเคยสอบได้รายวิชาที่สูงกว่ารายวิชาที่กำหนดไว้ในข้อ 2) มาแล้วในระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่าให้ยกเว้นไม่ต้องเรียน
4) กรณีที่เคยเรียนรายวิชาบังคับของกลุ่มวิทยาการจัดการมาแล้วในระดับอนุปริญญา ให้เลือกเรียนรายวิชาเลือกในแขนงวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจที่กำหนดไว้ใน 1.2 แทน
3.กลุ่มวิชาเตรียมฝึกประสบการณ์และฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 5 หน่วยกิต
ที่ รหัสวิชา รายชื่อวิชา หน่วยกิต
1 3503811 การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 2 2(0-90)
2 3504808 การฝึกประสบการณ์วิชาชีพบริหารธุรกิจ 2 3(0-210)
หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
ให้เลือกเรียนรายวิชาใด ๆ ในหลักสูตรมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้ว และต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมเป็นเกณฑ์ในการสำเร็จหลักสูตรของโปรแกรมวิชานี้

วิธีการสร้างบล็อค




1.เข้าไปที่ http://www.blogger.com/จะแสดงหน้าจอแบบนี้ ให้คลิกที่ สร้างเว็บบล๊อกของท่านเดี๋ยวนี้

2.เมื่อท่านคลิกนี้ จะปรากฎเป็นรูปเว็บบล็อก

3. ให้ใส่รายละเอียด-ที่อยู่อีเมล : (จากที่ท่านได้สมัคร Gmail มาแล้วก่อนหน้านี้)-Enter Password : (ใส่รหัสผ่าน)-พิมพ์รหัสผ่านอีกครั้ง-Displya name (ตั้งชื่อที่จะให้แสดงตอนโพสเว็บบล็อก)-พิมพ์ตามอักษรที่ปรากฎให้ถูกต้อง-คลิกดำเนินต่อไป

4.จากนั้นให้ตั้งชื่อ เว็บบล็อกของท่าน-คลิกที่ตรวจสอบ เพื่อตรวจเช็คดูว่า มีใครใช้ชื่อนี้ไปหรือยัง ถ้ามีแล้วระบบจะแจ้งเตือนว่าใช้ไม่ได้ และจะมีตัวเลือกให้เราโดยอัตโนมัต ถ้าชอบใจตัวไหน ก็คลิกที่ชื่อด้านล่างตัวนั้นได้ แต่ถ้าต้องการชื่ออื่นอีกก็ตรวจสอบจนกว่าจะได้ชื่อที่คุณพอใจ เมื่อได้ชื่อตามที่ต้องการแล้ว คลิกที่ ดำเนินต่อไป

5.จากนั้นจะเข้าสู่การเลือกแม่แบบว่า เราต้องการเว็บบล็อกรูปแบบไหน มีให้เลือกมากมายตามต้องการสามารถคลิกเพื่อดูตัวอย่างแม่แบบได้ เมื่อได้แม่แบบตามที่เราชอบแล้ว คลิกที่ ดำเนินต่อไป

ต่อไปกดเริ่มต้นการส่งบทความทำความเข้าใจก่อนนะครับว่า Google AdSense ยังไม่รองรับเว็บไซต์ภาษาไทย แต่ในอนาคตคาดว่า ทาง Google AdSense จะยอมรับเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาที่เป็นภาษาไทย ดังนั้น ควรนำเว็บบล็อกที่มีเนื้อหาภาษาอังกฤษมาทำการสมัครให้ผ่านก่อน โดยไปหาเนื้อหาภาษาอังกฤษ ได้ที่นี่ โดยคุณควรจะเลือกทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
http://en.wikipedia.org/wiki/Main_page
http://www.goarticles.com/
http://www.contentmart.com/
http://www.superfeature.com/
http://www.freshcontent.net/

ถึงตอนนี้คุณก็จะมีบล็อกส่วนด้วยไว้ทำเงินกับกูเกิลอย่าลืมจดจำคือ

1.อีเมลล์ของ gmail

2.URL เว็บบล็อก เช่น http://makemoneynetonline.blogspot.com/